วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual  Property)
          ความรู้ที่เกิดจากการคิดค้นจนทำให้เกิดมีค่าขึ้นได้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทรัพย์สินทางปัญญาได้แก่ การที่ผู้ใดหรือคณะบุคคลใดร่วมกันประดิษฐ์คิดค้น  ออกแบบ สร้างสรรค์จนเกิดผลขึ้นมา และผลงานนั้นมีคุณค่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งงานเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม

ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจาก
ความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์
 "ผลงานอันเกิดจากการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์"

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
       ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
       1.  ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial  property)
       2.  ลิขสิทธิ์ (Copyright)



1.  ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property)
        เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้าที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งในปัจจุบัน
        ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งประเภทออกได้ดังนี้
        1.1  สิทธิบัตร (Patent)
               หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model)  บัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตร มีสิทธิ์เด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ สิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านัั้น
               อาจแยกคำนิยามของ "สิทธิบัตร" ได้เป็น 2 ความหมาย ดังนี้
               สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
               สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น เช่น การผลิตและจำหน่าย เป็นต้น และสิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านั้น
               การประดิษฐ์ (Invention)
               การประดิษฐ์ คือ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับกลไก โครงสร้าง หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์ สิ่งของหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือเป็นการประดิษฐ์เกี่ยวกับกรรมวิธีกระบวนการหรือวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิต การเก็บรักษาให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ดีขึ้น
               การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือ เป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้หรือแพร่หลายมาก่อนในประเทศ สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี นับจากวันยืนคำขอรับสิทธิบัตร

                การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
                การออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิม   
                การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ จะต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศหรือยังไม่ได้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร  สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์มีอายุ 10 ปี นับจากวันยืนคำขอรับสิทธิบัตร

                ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility  Model)
                ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ หรือเรียกอีกอย่างว่า อนุสิทธิบัตร (Petty  Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย
                เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
                การออกแบบผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือ ยังไม่เคยมีจำหน่ายหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ในเอกสารสิ่งพิมพ์ใด ๆ ในทีวีหรือวิทยุมาก่อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรมและพาณิชยกรรมได้ อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 6 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับอนุญาตสิทธิบัตร สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี รวมเป็น 10 ปี


         1.2  เครื่องหมายการค้า (Trade  Mark)
                เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ อาจเป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ หรือสิ่งเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งรวมกันก็ได้ ใช้เื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น อาจกล่าวได้ว่า คือตราสินค้า หรือยี่ห้อสินค้า
                   เครื่องหมายสำหรับสินค้า (Goods Marks) คือ ตราสินค้าที่ติดอยู่กับตัวสินค้าเพื่อให้จดจำง่ายนั้นเอง ซึ่งเราได้พบเห็นกันอยู่ทั่วไป เช่น ตราของโค้ก, หลุยส์วิคตองที่มีรูปลักษณ์เฉพาะตัว
                   เครื่องหมายบริการ (Service Mark) เครื่องหมายที่ใช้ในธุรกิจบริการ เช่น การบินไทย, FedEx
                   เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) เป็นเครื่องหมายที่รับรองคุณภาพของสินค้า เช่น แม่ช้อยนางรำ, เชลล์ชวนชิม
                   เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) เป็นเครื่องหมายที่ใช้ร่วมกับบริษัทในเครือ เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย

         1.3 ความลับทางการค้า (Trade  Secrets)
               ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า เนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมรักษาไว้เป็นความลับ

"ข้อมูลทางธุรกิจที่ยังไม่เปิดเผย"

               ในกรณีที่ธุรกิจอาจมีความลับทางส่วนผสมทางการผลิต ก็อาจจดทะเบียนความลับทางการค้าก็ได้ โดยที่ธุรกิจจะไม่ยอมเปิดเผยสูตรให้ผู้ใด เช่น ความลับในการผลิตเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่ง ความลับในการผลิตน้ำพริก ซึ่งผู้อื่นที่มิใช่เจ้าของความลับจะทราบคร่าว ๆ เท่านั้นว่าส่วนผสมหลัก คือ อะไรแต่ไม่ทราบรายละเอียดจริง

         1.4  ชื่อทางการค้า (Trade  Name)
                ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ โกดัก ฟูจิ เป็นต้น



        1.5  สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)
               สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทน แทนแหล่งภูมิศาสตร์ สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ เป็นต้น



2.  ลิขสิทธิ์ (Copyright)
             ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น "ทรัพย์สินทางปัญญา" ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ 
             ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินประเภทที่สามารถซื้อขาย หรือโอนสิทธิกันได้ทั้งทางมรดกหรือโดยวิธีอื่น ๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้
             งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
             งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
             งานนาฏกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่าหรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว การแสดงโดยวิธีใบ้
             งานศิลปกรรม เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพ ประกอบแผนที่ โครงสร้าง ศิลปประยุกต์ และะรวมทั้งภาพถ่าย และแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
             งานดนตรีกรรม เช่น เนื้อร้อง ทำนองและรวมถึงโน้ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสาน
             งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ เป็นต้น
             งานภาพยนตร์
             งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น  เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ เป็นต้น
             งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การนำออกเผยแพร่ทางสถานีกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
             งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ




            สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
            -  ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
            -  รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
            -  ประกาศ  คำสั่ง ระเบียบ คำชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น
            -  คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
            -  คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น


           การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
           สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งมีลักษณะการได้มา ดังนี้  
           - คุ้มครองทันทีที่ได้มีการสร้างสรรค์งานนั้น
           - กรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
           - กรณีที่มีการโฆษณางานแล้วต้องเป็นการโฆษณาครั้งแรกได้จัดทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีฯ
           - กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย


           สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
           เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตน ดังต่อไปนี้
           - มีสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบ ทำสำเนา
           - การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตนโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้

          อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
          - งานทั่ว ๆ ไป ลิขสิทธิ์จะมีตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
          - งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอยู่ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
          - กรณีได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีศิลปประยุกต์ให้มีลิขสิทธิ์อยู่ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก
          - ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธารณะ บุคคลใด ๆ สามารถใช้งานนั้น ๆ ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์


          รูปแบบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
          การปลอมแปลง เป็นการผลิตทืี่มีการใช้วัสดุ รูปลักษณ์ ตราสินค้าที่เหมือนกับของเจ้าของทุกประการ โดยที่ผู้ซื้ออาจแยกไม่ออกว่าเป็นของจริงหรือไม่ ดังที่เราพบเห็นกันในท้องตลาด เช่น การปลอมนาฬิกาโรเล็กซ์ เสื้อโปโล กระเป๋าหลุยส์ วิคตอง, สินค้าของ Dior เป็นต้น
          การลอกเลียนแบบ โดยที่ตัวสินค้ามีรูปร่างหน้าตาเหมือนสินค้้าของเจ้าของผู้ผลิต แต่มีการปรับเครื่องหมายการค้าเล็กน้อย เช่น PRADA เป็๋น PRADO, Sony เป็น Somy เป็นต้น
          การลักลอบผลิต คือ การลักลอบผลิต เทปผี ซีดีเถื่อน ซึ่งเราได้พบเห็นข่าวการลักลอบผลิตอยู่เป็นประจำ เช่น ซีดีภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้งที่เคยเป็นข่าวมาแล้ว 
          สำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางด้านซอฟต์แวร์ (Software Piracy) 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น